นำเข้าแข้งดังส่งออกแข้งดีปัจจัยพาเจลีกเติบโตระดับทวีป

นำเข้าแข้งดังส่งออกแข้งดีปัจจัยพาเจลีกเติบโตระดับทวีป

นำเข้าแข้งดังส่งออกแข้งดีปัจจัยพาเจลีกเติบโตระดับทวีป

ฟุตบอลเจลีก ได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นเป็น ฤดูกาลแรกใน ปี1993 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับทีมชาติญี่ปุ่น ที่ต้องลงเล่นฟุตบอลโลก ปี 1994 รอบคัดเลือก ที่จะมีการแข่งขันขี้น ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทาง เจเอฟเอ หมายมั่นปั้นมือว่า อยากที่จะผ่านไปเล่นในรอบสุดท้ายให้ได้

    โดย ณ เวลานั้นชาติจากเอเชีย ได้โควต้า เพียงแค่ 2 ทีมเท่านั้น ทำให้การแข่งขันค่อนข้างที่จะจริงจังและเน้นเป็นพิเศษ และเมื่อจบทัวร์นาเมนต์คัดบอลโลก ทีมชาติญี่ปุ่นกระเด็นตกรอบแบบหน้าตาเฉยปล่อยให้ซาอุดิอาระเบีย และ เกาหลีใต้ คู่รักคู่แค้นเข้ารอบสุดท้ายเป็นครั้งแรกไปได้ สร้างความเสียหายกับวงการฟุตบอลญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก 
    โดยช่วงเวลาของก่อนเจลีก จะปรับเป็นลีกอาชีพ กับการช่วงเวลาคัดเลือกบอลโลกนั้น ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เจเอฟเอ ได้คิดค้นวิธีการนำซุปเปอร์สตาร์ ระดับโลกเข้ามาวาดลวดลายในลีก เฉกเช่นฝั่งอเมริกาทำเช่นเดียวกับ "เมเจอร์ลีกซอกเกอร์" ที่เคยมีนักเตะอย่าง "เปเล่" ไปเล่นมาแล้ว 
    ทำให้ดาวดังวัยชราย้ายสู่ "ดินแดนซากุระ" หลายต่อหลายคน เช่น แกรี่ ลินิเกอร์  ที่ย้ายมาจาก สเปอร์ส มาอยู่กับ นาโกย่า แกรมปัส ในฤดูกาล 1992-1994,  "ซิโก้" กัปตันทีมชาติบราซิล มาอยู่กับ คาชิม่า แอนท์เลอร์ส ในฤดูกาล 1991-1994, คาร์ลอส ดุงก้า กัปตันทีมชาติบราซิลชุดแชมป์โลกปี 1994

    มาอยู่กับ จูบิโล อิวาตะ  ในฤดูกาล1995-1998, ไมเคิ่ล เลาดรู๊ป สตาร์บาร์ซ่า มาอยู่กับ วิสเซล โกเบ ปี1996-1997, ฮริสโต้ สตอยช์คอฟ หลังจากโด่งดังในบอลโลก 1994 ก็มาอยู่ในญี่ปุ่น ช่วงสั้นๆ กับ คาชิว่า เรย์โซล ทั้งหมดนี้ เป็นแผนการร่วมมือกันของ เจลีกกับสโมสร เพื่อยกระดับลีกฟุตบอลให้น่าสนใจมากขึ้นอีกทั้งยังเป็นการยกระดับฝีเท้าของผู้เล่นในประเทศ ให้แข็งแกร่งขึ้น และสามารถสู้กับชาติอื่นในเอเชีย และในยุโรปได้
    การนำซูเปอร์สตาร์ ของเจลีกเข้ามาวาดลวดลายแม้ว่าฟอร์มของหลายๆคนอาจจะตกลงไปแล้ว แต่สร้างกระแส ให้แฟนคลับหันมาชมเกมเตะกันในสนามเยอะขึ้น โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 คนต่อนัด ในระหว่าง ปี1994-1998 เรียกได้ว่าฟุตบอลของญี่ปุ่น ณ เวลานั้นบูมไม่แพ้ เบสบอล เลย หลังจากโครงสร้างของฟุตบอลเจลีกแข็งแกร่งขึ้น
    ถัดจากปีแรกที่ก่อตั้งลีกอาชีพ ในฤดูกาล1993 อีก5 ปีถัดมาพวกเขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยใน ปี1998 ฟุตบอลโลกที่ฝรั่งเศส มีการปรับจำนวนทีมให้มากขึ้นเป็น32 ทีมจาก24 ทีม ทางด้านเอเชียได้โควต้า 4 ทีมครี่งแต่สามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้เพียงแค่ 4 ทีมคือ อิหร่าน,ซาอุดิอาระเบีย,เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ยิ่งทำให้ฟุตบอลในประเทศบูมขึ้นไปอีก กระแสฟุตบอลฟีเวอร์ ส่งผลให้ยอดผู้ชมทั้งในสนาม และ ถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์ มีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย
    สิ่งที่วัดว่าลีกแข็งแกร่งได้นอกจากยอดแฟนบอลที่เยอะแล้ว ยังต้องมีนักเตะที่ได้รับการยอมรับ และออกไปค้าแข้งต่างประเทศ ซึ่งคนที่ไปเปิดทางในเจนเนอร์เรชั่นใหม่ของฟุตบอลญี่ปุ่นคือ "คิงคาซู" คาซุโยชิ มิอุระ ตำนานของหน้าของทีมชาติญี่ปุ่น ที่ถูกสโมสร เจนัว ในกัลโช่ เซเรียอา ของ อิตาลียืมตัวร่วมทีมในปี 1994-1995 แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จมากมายนักแต่ก็เป็นใบเบิกทางชั้นดี 
    โดยภายหลังอีก 4 ปีต่อมา คนที่ตามไปค้าแข้งที่ในลีกมักกะโรนี คือซุเปอร์สตาร์ของ วงการฟุตบอลญี่ปุ่นอย่าง "ฮิเดโตชิ นากาตะ" ที่ทำผลงานได้โดดเด่น ใน "ฟรองซ์ 98" จน"เปรูจา" ทีมน้องใหม่ของกัลโช่ สนใจ และดึงตัวไปร่วมทีมก่อนที่ นากาตะ จะได้แชมป์ กัลโซ่ครั้งแรกกับ โรม่า กลายเป็นนักเตะญี่ปุ่นคนแรกที่ได้แชมป์รายการเมเจอร์ของยุโรป
 การยกระดับลีกให้แข็งแกร่ง ส่งผลให้ผู้เล่นของญี่ปุ่นแข็งแกร่งตามไปด้วย การที่ลีกได้รับความนิยม และนักเตะออกไปเล่นในต่างแดน ทำให้ฟุตบอลเจลีกเติบโตและกลายเป็นเบอร์1 ของเอเชียได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี แต่พวกเขก็ต้องเจอกับสภาวะที่ไม่คาดคิด อะไรที่ทำให้ฟุตบอลญี่ปุ่นสะดุด ตอนหน้ามาติดตามกัน #TheJourneyofLegends #JLeagueReturn #JLeague #Siamsport #เจลีก
เรารวบรวมข่าวกีฬาที่น่าสนใจที่ UFABET911 สำหรับนักเดิมพัน
ข่าวฟุตบอลจาก SIAMSPORT.COM

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

งูเผยฮันดาโนวิชติดโควิด-19อีกราย

สื่ออุรุกวัยเผยโรม่าตกลงดึงวินญ่าสำเร็จ

แฉ!แม่ราบิโอต์หัวร้อนทะเลาะบ้าน"ป็อก"-เอ็มบั๊ปเป้